วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

sketch....1




การทดลอง.....1

เพื่อศึกษาโครงสร้างของรังผึ้ง จากการเลียนแบบโครงสร้าง
โดยเริ่มจากระนาบ สองมิติ ของกระดาษ พับเพื่อให้เกิดมุม
เมื่อวางซ้อนทับกันเกิดเป็นโครงสร้างหกเหลี่ยม ในรูปแบบสามมิติ
เพื่อให้ได้มีมุมมองที่มากขึ้น สามารถหยิบจับและเปลี่ยนแปลงรูปแบบ

ในทางเรขาคณิต รูปหกเหลี่ยม หมายถึงเป็นรูปหลายเหลี่ยมแบบหนึ่ง
ที่มีด้าน 6 ด้าน และจุดยอด 6 จุด สัญลักษณ์ชเลฟลี (Schläfli symbol)
คือ {6}มุมภายในของหกเหลี่ยมปกติ หรือหกเหลี่ยมด้านเท่า
(มีความยาวด้านเท่ากันทุกด้าน และขนาดมุมเท่ากันทุกมุม) เท่ากับ 120 °
รูปหกเหลี่ยมด้านเท่าก็เหมือนกับรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส และสามเหลี่ยมด้านเท่า
ที่สามารถวางเรียงในแนวระนาบ ต่อกันไปโดยไม่มีช่องว่าง (รูปหกเหลี่ยม
3 รูปจะบรรจบกัน (หกเหลี่ยม 3 รูปสามบรรจบกัน 3 มุมยอด)
และมีประโยชน์มากสำหรับการสร้าง เทสเซลเลชัน (การวางรูปซ้ำๆ
ต่อกันจนเต็มพื้นที่ โดยไม่ซ้อนทับ หรือมีช่องว่าง)

รูปหกเหลี่ยม ปกติสามารถสร้างได้ด้วยวงเวียนและไม้บรรทัด ต่อไปนี้เป็นภาพเคลื่อนไหวแสดง
ขั้นตอนการวาดรูปหกเหลี่ยมดังกล่าวตาม Proposition 15 เล่ม IV จากตำรา Elements ของยูคลิด



โครงสร้างของรังผึ้ง 1





ทำไมธรรมชาติของผึ้ง ถึงสร้างให้เป็น 6 เหลี่ยม ไม่เป็นวงหลม สามเหลี่ยม หรือสี่เหลี่ยม
ทรงหกเหลี่ยมเมื่อเรียงต่อกัน สามารถเรียงต่อกันได้สนิท ไม่เกิดช่องว่างระหว่างเซล ขณะที่วงกลมเมื่อเรียงต่อกัน จะเสียพื้นที่ระยะห่างระหว่างเซลไปบางส่วน การที่ขอบต่อกันได้สนิทน่าจะมีข้อดี 2 ประการคือ ใช้ประโยชน์พื้นที่ได้สูงสุด และมีความแข็งแรง อีกทั้งยังช่วยให้ผึ้งทำงานน้อยลง เนื่องจากไม่ต้องสร้างผนังด้านที่ใช้ร่วมกัน
ส่วนสามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยม ถึงแม้จะเรียงต่อกันได้สนิท แต่ขอบของสามเหลี่ยมที่เรียงต่อกันจะไม่เป็นเส้นตรง ขณะที่สี่เหลี่ยม ได้ขอบเส้นตรง แต่ความแข็งแรงก็จะสู้แบบหกเหลี่ยมไม่ได้ รูปหกเหลี่ยมจึงเหมาะสมที่สุดสำหรับรังผึ้ง ทั้งในเรื่องพื้นที่และความแข็งแรง
จะเห็นได้ว่า ธรรมชาติสร้างสิ่งที่ดีที่สุดเสมอ และผึ้งก็สามารถสร้างรังให้แข็งแรงและให้บรรจุน้ำผึ้งได้มากที่สุด โดยไม่ต้องเรียนวิชาเรขาคณิตหรือฟิสิกส์เลย

" System "




System>>>
กระบวนการที่มีจุดมุ่งหมาย เป็นตัวกำหนดขั้นตอนที่จะนำไปสู่เป้าหมายให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

Workshop>>>
ภายใต้หัวข้อ system ทำให้เห็นถึงระบบต่างๆของเพื่อนๆ ด้วยมุมมอง และการตีความหมายที่แตกต่างกัน
และการสรุปผลที่ออกมาเป็นชิ้นงาน เป็นการแสดงออกถึงกระบวนการคิด บางกลุ่มอาจจะคิดเริ่มต้นจากวัสดุที่มี
บางกลุ่มเริ่มจากเรื่องในชีวิตประจำวัน รวมไปถึงการสรุปผลที่ต่างกัน เช่น กลุ่มที่เป็นเรื่องเสียง มีทั้งสรุปออกมาเป็นภาพแสดงให้เห็นกราฟของคลื่นเสียง อีกกลุ่มเป็นการดีดแล้วทำให้เกิดเสียงที่มีระดับเป็นตัวกำหนด
.........ทำให้การคิดที่ไร้ทิศทางมีระบบและเป็นไปในทิศทางเดียวกันมากขึ้น..........